การขอนำเข้าอาหารเพื่อวัตถุประสงค์อื่น
7 พฤษภาคม 2567

ลำดับ

ขั้นตอน

1.

ยื่นเอกสารขอเข้าใช้ระบบสารสนเทศ และหลักฐานประกอบ ณ ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ อาคาร OSSC ชั้น 4


1.1 หนังสือแจ้งความประสงค์ *กรณีผู้ขอใช้งานเป็นผู้มีอำนาจ

• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มีอำนาจ (ที่ยังไม่หมดอายุ ณ วันที่ยื่นเอกสาร พร้อมลงชื่อรับรองสำเนา) 

หนังสือให้ความยินยอมเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับกระบวนการยื่นคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัติที่อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา


1.2 หนังสือมอบอำนาจ *กรณีผู้ขอใช้งานเป็นผู้รับมอบอำนาจ

• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มีอำนาจ (ที่ยังไม่หมดอายุ ณ วันที่ยื่นเอกสาร พร้อมลงชื่อรับรองสำเนา) 

• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ที่ยังไม่หมดอายุ ณ วันที่ยื่นเอกสาร พร้อมลงชื่อรับรองสำเนา)

หนังสือให้ความยินยอมเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับกระบวนการยื่นคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัติที่อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (ผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้ลงนาม)


หมายเหตุ ผู้ขอใช้งานมีสิทธิใช้งานระบบสารสนเทศ ด่านอาหารและยา ได้ไม่เกิน 1 ปี

*สามารถส่งเอกสารขอเข้าใช้ระบบสารสนเทศ มาเปิดสิทธิ์ชั่วคราวก่อนได้ที่ bie.thaifda@gmail.com เจ้าหน้าที่ดำเนินการหลังจากได้รับเรื่องไม่เกิน 2 ชั่วโมง ของวันและเวลาทำการ (เวลาทำการ 08.30-16.30 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ)

– หากข้อมูลถูกต้องครบถ้วนเจ้าหน้าที่จะตอบกลับที่อยู่ให้จัดส่งเอกสารตัวจริง –

2.

ยื่นคำขอผ่านระบบ e-Submission

ช่องทางการเข้าใช้งาน > https://privus.fda.moph.go.th > ผู้ประกอบการ > ระบบการขอผ่อนผันการนำเข้าอาหาร


คู่มือการใช้งาน

3.

หลังจากได้รับการอนุมัติ ระบบจะออกเลข LPI เพื่อใช้ประกอบการทำใบขนสินค้ากับกรมศุลกากร


> หนังสือมอบอำนาจดำเนินพิธีการ ณ ด่านอาหารและยา *เฉพาะกระบวนงาน e-sub เท่านั้น

*สามารถส่งเอกสารได้ที่

1. ณ ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ อาคาร OSSC ชั้น 4

2. อีเมล bie.thaifda@gmail.com - หากข้อมูลถูกต้องครบถ้วนเจ้าหน้าที่จะตอบกลับที่อยู่ให้จัดส่งเอกสารตัวจริง


หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และเอกสารประกอบการนำเข้าอาหาร

วัตถุประสงค์

เงื่อนไข

เอกสารประกอบการพิจารณา

เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร

• ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ

1. ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้ว่าจ้างผลิต หรือเจ้าของผลิตภัณฑ์

2. กรณีวัตถุดิบที่ใช้ต้องเป็นส่วนประกอบในการผลิตอาหาร หรือใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารตามเงื่อนไขที่ระบุในประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร

3. อาหารที่นำเข้าต้องนำมาผ่านกระบวนการผลิต ที่มิใช่การแบ่งบรรจุ

4. ต้องไม่นำวัตถุดิบที่นำเข้าไปจำหน่าย


*** กรณีผู้นำเข้าเป็นผู้ผลิต *ติดต่อกองอาหาร (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม)

1. หนังสือชี้แจงวัตถุประสงค์ในการนำเข้าจากผู้นำเข้า (แสดงเจตจำนง พร้อมทั้งรับรองว่าสินค้าที่นำเข้าเป็นวัตถุดิบที่มีในสูตรส่วนประกอบ และรับรองว่าจะไม่นำวัตถุดิบนั้นไปจำหน่าย)

2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

3. สัญญาว่าจ้างผลิตอาหาร

4. เอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง (เอกสารแสดงการได้รับเลขสารบบของอาหารที่ผลิต/ กรณีอาหารทั่วไป ใบอนุญาตผลิตอาหาร (แบบ อ.2) (หน้า-หลัง) หรือใบสำคัญเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน (แบบ สบ.1/1) และ สูตรส่วนประกอบของอาหารที่ผลิตซึ่งสามารถแสดงอัตราส่วนของวัตถุดิบอาหารที่นำเข้าต่อส่วนประกอบทั้งหมด)

5. ฉลาก รูปภาพสินค้า หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงรายละเอียด

6. กรณีที่มีการใช้ “อาหารใหม่ (Novel food)” เป็นส่วนประกอบในการผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายในประเทศต้องมีหลักฐานผ่านการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานประเมินความปลอดภัยที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้การยอมรับ

7. เอกสารยืนยันอาหารนั้นปลอดภัยจากโรควัวบ้า (BSE) ปราศจากกรดไขมันทรานส์จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (แล้วแต่กรณี)

เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร

• ผลิตเพื่อการส่งออก

1. ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้ว่าจ้างผลิต หรือเจ้าของผลิตภัณฑ์

2. อาหารที่นำเข้าต้องนำมาผ่านกระบวนการผลิต ที่มิใช่การแบ่งบรรจุ

3. ต้องไม่นำวัตถุดิบที่นำเข้าไปจำหน่าย


*** กรณีผู้นำเข้าเป็นผู้ผลิต *ติดต่อกองอาหาร (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม)

1. หนังสือชี้แจงวัตถุประสงค์ในการนำเข้าจากผู้นำเข้า (แสดงเจตจำนง พร้อมทั้งรับรองว่าสินค้าที่นำเข้าเป็นวัตถุดิบที่มีในสูตรส่วนประกอบ และรับรองว่าจะไม่นำวัตถุดิบนั้นไปจำหน่าย)

2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

3. ใบขนสินค้าขาออกที่ผ่านมา หรือ ใบสั่งซื้อจากต่างประเทศ

4. สัญญาว่าจ้างผลิตอาหาร

5. เอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่ผลิต (ใบอนุญาตผลิตอาหาร (แบบ อ.2) (หน้า-หลัง) กรณีสถานที่ผลิตเข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือใบสำคัญเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน (แบบ สบ.1/1) กรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน /กรณีอาหารควบคุมเฉพาะให้แนบใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (อ.18))

6. ฉลาก รูปภาพสินค้า หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงรายละเอียด

เพื่อเป็นตัวอย่างในการพิจารณารูปลักษณะผลิตภัณฑ์ ที่มิใช่เพื่อการขึ้นทะเบียนตำรับอาหารหรือเพื่อพิจารณาสั่งซื้อ

เช่น นำเข้าเป็นตัวอย่างในการผลิต/ว่าจ้างผลิตในประเทศ

1. ปริมาณการนำเข้าเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์*

*การพิจารณาปริมาณการนำเข้าสามารถนำเกณฑ์ตามบัญชีแนบท้ายระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อเป็นตัวอย่างในการขึ้นทะเบียนตำรับอาหารหรือเพื่อพิจารณาสั่งซื้อ (อ. 16) มาปรับใช้ได้

2. ต้องไม่นำสินค้าที่นำเข้าไปจำหน่าย จ่ายแจก

1. หนังสือชี้แจงวัตถุประสงค์ในการนำเข้าจากผู้นำเข้า (แสดงเจตจำนง และลงรายละเอียดว่านำเข้ามาเพื่อการใด พร้อมทั้งรับรองคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้านั้น และรับรองว่าจะไม่นำสินค้าที่นำเข้าไปจำหน่าย จ่ายแจก) และเอกสารประกอบอื่น ๆ ที่แสดงถึงวัตถุประสงค์การนำเข้า

2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

3. สูตร ส่วนประกอบของอาหารที่ขอนำเข้า

4. ฉลาก รูปภาพสินค้า หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงรายละเอียด

5. เอกสารยืนยันอาหารนั้นปลอดภัยจากโรควัวบ้า (BSE) ปราศจากกรดไขมันทรานส์จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (แล้วแต่กรณี)

เพื่อเป็นส่วนประกอบในการปรุงหรือเตรียมอาหารในร้านอาหาร โรงแรม หรือภัตตาคาร

1. ผู้นำเข้าเป็นผู้ปรุงเอง

2. ไม่ใช่เครื่องปรุงที่ใช้โดยตรงต่อผู้บริโภค เช่น ซอสขวดเล็กที่ตั้งบนโต๊ะอาหาร เป็นต้น

3. อาหารที่นำเข้าต้องนำมาผ่านกระบวนการปรุง

4. ต้องไม่นำสินค้าที่นำเข้าไปจำหน่าย จ่ายแจก

1. หนังสือชี้แจงวัตถุประสงค์ในการนำเข้าจากผู้นำเข้า (แสดงเจตจำนง พร้อมทั้งรับรองคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้านั้น และรับรองว่าจะไม่นำสินค้าที่นำเข้าไปจำหน่าย จ่ายแจก)

2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

3. เอกสารทางราชการแสดงการได้รับอนุญาตให้เป็นสถานที่ปรุงอาหารจำหน่าย

4. ฉลาก รูปภาพสินค้า หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงรายละเอียด

5. สูตร ส่วนประกอบในการปรุงอาหารชนิดนั้น ๆ ซึ่งแสดงอัตราส่วนวัตถุดิบอาหารที่นำเข้าต่อส่วนประกอบทั้งหมด

6. เอกสารยืนยันอาหารนั้นปลอดภัยจากโรควัวบ้า (BSE) ปราศจากกรดไขมันทรานส์จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (แล้วแต่กรณี)

เพื่อทดลองผลิต

รวมถึงการทดลองเครื่องจักรที่ใช้ผลิตอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิต เป็นต้น

1. เป็นวัตถุดิบอาหาร หรือผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปเพื่อทดลองเครื่องจักร

2. ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้ทดลองผลิตเอง หรือผู้ว่าจ้างการผลิต หรือ เจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารนั้น

3. เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว สินค้าที่ผลิตได้ต้องไม่ถูกนำไปจำหน่าย จ่ายแจก และต้องถูกทำลายทั้งหมด

1. หนังสือชี้แจงวัตถุประสงค์ในการนำเข้าจากผู้นำเข้า (แสดงเจตจำนง พร้อมทั้งรับรองว่าสินค้าที่นำเข้ามานั้น จะใช้เป็นวัตถุดิบในการทดลองผลิตของผู้นำเข้าเท่านั้น เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์แล้วสินค้าที่ผลิตแล้วนั้นจะไม่ถูกจำหน่าย จ่ายแจกแต่อย่างใด และจะถูกทำลายทั้งหมด)

2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

3. เอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง (ใบอนุญาตผลิตอาหาร (แบบ อ. 2) (หน้า-หลัง) กรณีสถานที่ผลิตเข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือ ใบสำคัญเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน (แบบ สบ.1/1) กรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน หรือ ใบอนุญาตผลิตอาหารเป็นการเฉพาะคราว (แบบ อ.13) สำหรับประเภทผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้รับอนุญาต กรณีเข้าข่ายโรงงาน)

4. ฉลาก รูปภาพสินค้า หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงรายละเอียด

5. สัญญาว่าจ้างผลิตอาหาร (กรณีผู้นำเข้าเป็นผู้ว่าจ้างให้ผลิต)

6. เอกสารยืนยันอาหารนั้นปลอดภัยจากโรควัวบ้า (BSE) ปราศจากกรดไขมันทรานส์จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (แล้วแต่กรณี)

เพื่อการทดสอบความคงสภาพ (Stability) หรือการทดสอบทางห้องปฏิบัติการที่มิใช่เพื่อการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร

เช่น การทดสอบการขนส่ง การทดสอบบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น

1. มิใช่การทดสอบในมนุษย์

2. ปริมาณการนำเข้าต้องสอดคล้องกับโครงการวิจัย

3. มีรายงานผลการทดสอบเก็บไว้ ณ สถานประกอบการ ในกรณีเพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบ

4. เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว สินค้าที่ผลิตได้ต้องไม่ถูกนำไปจำหน่าย จ่ายแจก และต้องถูกทำลายทั้งหมด

1. หนังสือชี้แจงวัตถุประสงค์ในการนำเข้าจากผู้นำเข้า (แสดงเจตจำนง เช่น เพื่อทดสอบความคงสภาพ (Stability test) หรือทดสอบทางห้องปฏิบัติการในเรื่อง…….. เป็นต้น พร้อมทั้งรับรองว่าสินค้าที่นำเข้ามานั้นจะใช้ในการดังกล่าว เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์แล้วสินค้านั้นจะไม่ถูกจำหน่าย จ่ายแจกแต่อย่างใด และจะถูกทำลายทั้งหมด)

2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

3. โครงการวิจัย/หัวข้อการทดสอบทางห้องปฏิบัติการนั้น ๆ แสดงรายละเอียดรูปแบบและระยะเวลาการศึกษาที่ชัดเจนจากห้องปฏิบัติการหรือหน่วยงานที่ทำการทดสอบ

4. ฉลาก รูปภาพสินค้า หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงรายละเอียด

5. หลักฐานจากผู้ผลิต/ผู้ส่งออกว่าส่งมาเพื่อการนั้น (ถ้ามี)

6. เอกสารยืนยันอาหารนั้นปลอดภัยจากโรควัวบ้า (BSE) ปราศจากกรดไขมันทรานส์จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (แล้วแต่กรณี)

7. การทดสอบทางห้องปฏิบัติการต้องแนบเอกสารจากห้องปฏิบัติการระบุปริมาณอาหารที่ต้องใช้

เพื่อใช้ในกิจการของหน่วยงานระหว่างประเทศ โดยมิใช่ประโยชน์ทางการค้า เช่น สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล

องค์การระหว่างประเทศ เป็นต้น


1. หนังสือชี้แจงวัตถุประสงค์ในการนำเข้าจากหน่วยงานระหว่างประเทศนั้น

2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

3. ฉลาก รูปภาพสินค้า หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงรายละเอียด

4. เอกสารยืนยันอาหารนั้นปลอดภัยจากโรควัวบ้า (BSE) ปราศจากกรดไขมันทรานส์จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (แล้วแต่กรณี)

เพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา

ต้องใช้เฉพาะในพิธีนั้น ๆ และไม่นำไปจำหน่าย จ่ายแจก เพื่อประโยชน์ทางการค้า

1. หนังสือชี้แจงวัตถุประสงค์ในการนำเข้า (แสดงเจตจำนง พร้อมรับรองคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้านั้น และรับรองว่าจะใช้เฉพาะในพิธีนั้นๆ ไม่นำมาจำหน่าย จ่ายแจกเพื่อประโยชน์ทางการค้า)

2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

3. ฉลาก รูปภาพสินค้า หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงรายละเอียด

4. เอกสารยืนยันอาหารนั้นปลอดภัยจากโรควัวบ้า (BSE) ปราศจากกรดไขมันทรานส์จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (แล้วแต่กรณี)

เพื่อเป็นของขวัญแจกพนักงานหรือใช้ในการจัดประชุมของผู้นำเข้า (Meeting, Incentive or Motivation)

1. เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเท่านั้น

2. เป็นการนำเข้าเฉพาะในช่วงเวลาเทศกาล/การประชุมภายในบริษัทของผู้รับบริการ

3. ผู้นำเข้าเป็นผู้ดำเนินกิจการ/เจ้าของกิจการ

4. ต้องไม่นำสินค้าที่นำเข้าไปจำหน่าย จ่ายแจก เพื่อประโยชน์ทางการค้า

***การจัดประชุมกรณีนี้ หมายถึง การนำเข้าอาหารเพื่องานประชุมที่ทราบจำนวนและรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม กรณีดังกล่าวไม่รวมถึงการแสดงสินค้า (Expositions หรือ Trade show) หรือการประชุมที่มีการแสดงสินค้า (Conventions: meetings and showing product (s) or workmanship) ซึ่งต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข การพิจารณาอนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะคราว (อ.12)

1. หนังสือชี้แจงวัตถุประสงค์ในการนำเข้า (แสดงเจตจำนง พร้อมรับรองคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้านั้น และรับรองว่าจะไม่นำสินค้าที่นำเข้าไปจำหน่าย จ่ายแจก)

2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

3. เอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง

3.1 กรณีเป็นของขวัญแจกพนักงาน: ให้แนบ

- รายชื่อผู้ที่ได้รับแจก หรือสำเนาเอกสารแสดงตัวของพนักงาน

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาหนังสือเดินทาง และรับรองสำเนาด้วย

3.2 กรณีใช้ในการจัดประชุม: ให้แนบ

- เอกสารการจัดประชุมและรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เข้าร่วมประชุม และรับรองสำเนาด้วย

4. ฉลาก รูปภาพสินค้า หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงรายละเอียด

5. เอกสารยืนยันอาหารนั้นปลอดภัยจากโรควัวบ้า (BSE) ปราศจากกรดไขมันทรานส์จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (แล้วแต่กรณี)

เพื่อบริจาค

1. เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

2. อาหารที่นำเข้าต้องมีช่วงอายุที่เหลือในการบริโภคได้ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของช่วงอายุอาหารตามที่กำหนดบนฉลาก

3. มิใช่ประโยชน์ทางการค้า

4. ต้องไม่นำสินค้าที่นำเข้าไปจำหน่าย จ่ายแจก เพื่อประโยชน์ทางการค้า

1. หนังสือชี้แจงวัตถุประสงค์ในการนำเข้าจากผู้นำเข้า (แสดงเจตจำนง พร้อมรับรองคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้านั้น และรับรองว่าจะไม่นำสินค้าที่นำเข้าไปจำหน่าย จ่ายแจก)

2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

3. Health certificate หรือ Certificate of Free sale ที่ออกโดยหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่รัฐบาลรับรองตามประกาศฯ ของสินค้านั้น ๆ

4. ฉลาก รูปภาพสินค้า หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงรายละเอียด

5. เอกสารแสดงการบริจาค

6. หนังสือตอบรับการบริจาคจากหน่วยงานที่ได้รับบริจาค

7. เอกสารยืนยันอาหารนั้นปลอดภัยจากโรควัวบ้า (BSE) ปราศจากกรดไขมันทรานส์จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (แล้วแต่กรณี)

เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารหรือยา

• กรณีใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมเบียร์ อุตสาหกรรมพลาสติก เป็นต้น

1. กรณีนำเข้าอาหารเพื่อผลิตในอุตสาหกรรมอื่น เช่น เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ เป็นต้น ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้ประกอบกิจการที่จำเป็นต้องใช้อาหารนั้น หรือผู้ว่าจ้างผลิต หรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ต้องไม่นำสินค้าที่นำเข้าไปจำหน่าย จ่ายแจก

2. กรณีนำเข้าอาหารเพื่อจำหน่ายในอุตสาหกรรมอื่น เช่น เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ เป็นต้น ผู้นำเข้าต้องจำหน่ายสินค้าทั้งหมดตามจำนวนที่นำเข้า

1. หนังสือชี้แจงวัตถุประสงค์ในการนำเข้าจากผู้นำเข้า (กรณีนำเข้าอาหารเพื่อผลิต แสดงเจตจำนง และรับรองว่าจะไม่นำสินค้าที่นำเข้าไปจำหน่าย จ่ายแจก)

2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

3. ข้อกำหนดเฉพาะของวัตถุดิบ

4. เอกสารทางราชการแสดงการประกอบธุรกิจตามที่กล่าวอ้าง (ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)/ ใบจดทะเบียนสถานที่ผลิต หรือใบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ตามที่กล่าวอ้าง)

5. สูตร และกรรมวิธีการผลิตที่แสดงตรงกับการประกอบธุรกิจตามที่กล่าวอ้าง

6. ฉลาก รูปภาพสินค้า หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงรายละเอียด

7. สัญญาว่าจ้างผลิตอาหาร (กรณีผู้นำเข้าเป็นผู้ว่าจ้างให้ผลิต)

8. หลักฐานการสั่งซื้อวัตถุดิบตามจำนวนที่นำเข้า (กรณีผู้นำเข้าจำหน่ายวัตถุดิบให้ผู้ผลิต)

9. เอกสารยืนยันอาหารนั้นปลอดภัยจากโรควัวบ้า (BSE) ปราศจากกรดไขมันทรานส์จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (แล้วแต่กรณี)

เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารหรือยา

• กรณีใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์

ผู้นำเข้าต้องได้รับอนุญาตเป็นผู้ผลิตอาหารสัตว์

1. หนังสือชี้แจงวัตถุประสงค์การนำเข้าจากผู้นำเข้า แสดงเจตจำนง และรับรองว่าจะไม่นำสินค้าที่นำเข้าไปจำหน่ายจ่ายแจก

2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

3. ข้อกำหนดเฉพาะของวัตถุดิบ

4. เอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตการนำเข้า และผลิตอาหารสัตว์ และการประกอบกิจกรรมอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เช่น ใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ ใบรับแจ้งผู้ผลิตอาหารสัตว์ที่ไม่ใช่อาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ

5. สูตร และกรรมวิธีการผลิตที่แสดงตรงกับการประกอบธุรกิจตามที่กล่าวอ้าง

6. ฉลาก รูปภาพสินค้า หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงรายละเอียด

เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารหรือยา

• กรณีใช้เพื่อทดสอบเครื่องจักร/อุปกรณ์เครื่องมือ/เครื่องใช้

1. ผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบกิจการที่จำเป็นต้องใช้อาหารนั้น หรือผู้ว่าจ้างผลิต หรือเจ้าของผลิตภัณฑ์

2. เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว สินค้าที่ผลิตได้ต้องไม่ถูกนำไปจำหน่ายหรือจ่ายแจก และต้องถูกทำลายทั้งหมด

1. หนังสือชี้แจงวัตถุประสงค์ในการนำเข้าจากผู้นำเข้า (แสดงเจตจำนง พร้อมทั้งรับรองว่าสินค้าที่นำเข้ามานั้นจะใช้ในกรณีดังกล่าวเมื่อบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว สินค้านั้นจะไม่ถูกจำหน่าย หรือจ่ายแจกแต่อย่างใด จะถูกทำลายทั้งหมด และรับรองว่าจะส่งรายงาน พร้อมหลักฐานแสดงการใช้สินค้าตามวัตถุประสงค์ที่นำเข้า เช่น ภาพถ่ายสินค้าที่ผ่านการใช้งาน/ทดสอบ เป็นต้น)

2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

3. เอกสารแสดงรายละเอียดการทดสอบเครื่องจักร/อุปกรณ์เครื่องมือ/เครื่องใช้ โดยแสดงรายละเอียดของจำนวนสินค้า กระบวนการ และระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบ

4. เอกสารทางราชการแสดงการประกอบธุรกิจตามที่กล่าวอ้าง เช่น ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)

5. ฉลาก รูปภาพสินค้า หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงรายละเอียด

6. เอกสารยืนยันอาหารนั้นปลอดภัยจากโรควัวบ้า (BSE) ปราศจากกรดไขมันทรานส์จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (แล้วแต่กรณี)


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 0 2590 7000 ต่อ 79918