การขออนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะคราว (แบบ อ.12)
21 กุมภาพันธ์. 2568

ลำดับ

ขั้นตอน

1.

ยื่นเอกสารขอเข้าใช้ระบบสารสนเทศ (ศึกษาขั้นตอนการยื่นหนังสือมอบอำนาจ ได้ที่ การมอบอำนาจ)

2.

ยื่นคำขอผ่านระบบ e-Submission

ช่องทางการเข้าใช้งาน > https://privus.fda.moph.go.th > ผู้ประกอบการ > ระบบ(อ.12)

คู่มือการใช้งาน

โปรแกรมที่ต้องใช้ > Adobe Acrobat Reader DC + FontPack Download 64-bit (สำหรับเครื่อง 32-bit)

หลังจากได้รับการอนุมัติ ระบบจะออกเลข LPI เพื่อใช้ประกอบการทำใบขนสินค้ากับกรมศุลกากร

3.

ยื่นเอกสารมอบอำนาจดำเนินการพิธีการ ณ ด่านอาหารและยา (ศึกษาขั้นตอนการยื่นหนังสือมอบอำนาจ ได้ที่ การมอบอำนาจ)


หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และเอกสารประกอบการขออนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะคราว (แบบ อ.12)

วัตถุประสงค์

เอกสารประกอบการพิจารณา

เพื่อจำหน่ายในร้านค้าปลอดอากร

1. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

2. หนังสือมอบอำนาจและแต่งตั้งผู้ดำเนินกิจการ ติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้ดำเนินกิจการ (แบบฟอร์ม)

3. หนังสือรับรองการจัดตั้งร้านค้าปลอดอากรในเมือง

4. หนังสือของผู้นำเข้ารับรองคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้านั้น

เพื่อเข้าเก็บรักษาในคลังสินค้าทัณฑ์บน/เขตปลอดอากร/เขตประกอบการเสรีเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร

1. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

2. หนังสือมอบอำนาจและแต่งตั้งผู้ดำเนินกิจการ ติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้ดำเนินกิจการ (แบบฟอร์ม)

3. สำเนาหลักฐานการจัดตั้ง

– คลังสินค้าทัณฑ์บน

– เขตปลอดอากร

– เขตประกอบการเสรี

และหลักฐานจากเจ้าของยินยอมให้นำอาหารเข้าไปเก็บรักษาเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร

4. หนังสือจากผู้นำเข้า

– รับรองคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของอาหาร

– รับทราบเงื่อนไขว่าเป็นการนำเข้าเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรทั้งหมด โดยจะรายงานผลการส่งออกภายใน 30 วัน หลังการส่งออก

เพื่อแสดงสินค้าของเอกชน นิติบุคคล และองค์กรต่างๆ

​1. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

2. หนังสือมอบอำนาจและแต่งตั้งผู้ดำเนินกิจการ ติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้ดำเนินกิจการ (แบบฟอร์ม)

3. Health Certificate หรือ Certificate of Free sale ที่ออกโดยหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานที่รัฐบาลรับรอง

4. หนังสือรับรองของสถานที่จัดนิทรรศการ

5. หนังสือจากผู้จัดนิทรรศการ ยืนยันว่าผู้นำเข้า ร่วมการแสดงนิทรรศการ

6. หนังสือแสดงเจตจำนง ในการนำเข้าพร้อมทั้งรับรองคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้า การจัดการกับสินค้านั้นหลังการแสดงนิทรรศการและจะไม่จำหน่ายจ่ายแจกสินค้า

​เพื่อแสดงสินค้าหรือเพื่อจำหน่ายเป็นสาธารณกุศล โดยสถานทูต

​1. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

2. หนังสือมอบอำนาจและแต่งตั้งผู้ดำเนินกิจการ ติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้ดำเนินกิจการ (แบบฟอร์ม)

3. Health Certificate หรือ Certificate of Free sale ที่ออกโดยหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานที่รัฐบาลรับรอง

4. หนังสือแสดงเจตจำนงในการนำเข้า พร้อมทั้งรับรองคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้า

5. กรณีจำหน่ายเป็นสาธารณกุศล ให้แนบหนังสือตอบรับการบริจาค จากหน่วยงานที่ได้รับบริจาคหรือเอกสารอื่นที่มีความหมายเดียวกัน

เพื่อใช้ประกอบการผลิตสำหรับการส่งออกเท่านั้น (ผู้ผลิตเป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ที่อยู่ในสภาพพร้อมจำหน่ายต่อผู้บริโภค)

1. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

2. หนังสือมอบอำนาจและแต่งตั้งผู้ดำเนินกิจการ ติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้ดำเนินกิจการ (แบบฟอร์ม)

3. สำเนาใบสั่งซื้อของคู่ค้า

4. หนังสือรับรองว่าสินค้าที่นำเข้ามานั้นจะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตของโรงงานเองเท่านั้น สินค้าที่ผลิตแล้วส่งออกทั้งหมดไม่มีการจำหน่ายหรือจ่ายแจกแต่อย่างใด

*กรณีเข้าข่ายเป็นโรงงาน

– สำเนาใบอนุญาตผลิต

– สำเนาใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร

– สำเนาคำขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร พร้อมรับรองสำเนาโดยผู้มีอำนาจลงนาม

เพื่อการศึกษาวิจัยทางวิชาการ (ในมนุษย์)

1. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

2. หนังสือมอบอำนาจและแต่งตั้งผู้ดำเนินกิจการ ติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้ดำเนินกิจการ (แบบฟอร์ม)

3. Health Certificate หรือ Certificate of Free sale ที่ออกโดยหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานที่รัฐบาลรับรอง

4. สำเนาโครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการศึกษาวิจัยในคนของหน่วยงานราชการ ที่มีการระบุกลุ่มเป้าหมายที่จะวิจัย และวิทยฐานะประสบการณ์ของคณะผู้วิจัย

5. รายงานผลการวิจัยให้กองด่านฯ (อย.) ทราบเป็นระยะๆ

6. หนังสือรับรองว่าการวิจัยนี้จะนำผลิตภัณฑ์นี้ไปใช้ในขอบเขตที่ได้รับอนุมัติในการวิจัยตามโครงการที่อนุมัติไว้เท่านั้น ไม่มีการจำหน่ายหรือจ่ายแจกเพื่อประโยชน์ทางการค้าและยินยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบและติดตามผลการวิจัยได้ หากผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามามีปัญหาไม่ปลอดภัย อย. สามารถดำเนินการอายัดหรือเรียกคืนสินค้าได้

เพื่อบริการบนเครื่องบิน

1. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารอื่น ๆ แล้วแต่กรณี (กรณีข้อมูลสินค้าใน Invoice ไม่ครบถ้วน)

2. หนังสือมอบอำนาจและแต่งตั้งผู้ดำเนินกิจการ ติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้ดำเนินกิจการ (แบบฟอร์ม)

3. สำเนาหลักฐานการจัดตั้งเขตปลอดอากร

4. หนังสือจากผู้นำเข้า รับรองคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของอาหาร


เงื่อนไข: อาหารที่จะขอนำเข้าต้องไม่เป็นอาหารห้ามนำเข้าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข


หมายเหตุ*​ ​: สำเนาเอกสารทุกฉบับ ต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง โดยผู้ที่มีอำนาจ หรือผู้รับผิดชอบ พร้อมประทับตราบริษัท


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 0 2590 7000 ต่อ 70801