การนำเข้าวัตถุอันตราย
21 กุมภาพันธ์. 2568

ลำดับ

ขั้นตอน

1.

ยื่นเอกสารขอเข้าใช้ระบบสารสนเทศ (ศึกษาขั้นตอนการยื่นหนังสือมอบอำนาจ ได้ที่ การมอบอำนาจ)

2.

ยื่นคำขอผ่านระบบ e-Submission

ช่องทางการเข้าใช้งาน > https://privus.fda.moph.go.th > ผู้ประกอบการ > ระบบการขอผ่อนผันการนำเข้าวัตถุอันตราย

คู่มือการใช้งาน

หลังจากได้รับการอนุมัติ ระบบจะออกเลข LPI เพื่อใช้ประกอบการทำใบขนสินค้ากับกรมศุลกากร

3.

ยื่นเอกสารมอบอำนาจดำเนินพิธีการ ณ ด่านอาหารและยา (ศึกษาขั้นตอนการยื่นหนังสือมอบอำนาจ ได้ที่ การมอบอำนาจ)


หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และเอกสารประกอบการนำเข้าวัตถุอันตราย

วัตถุประสงค์

หลักเกณฑ์เงื่อนไข

เอกสารประกอบการพิจารณา

เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะเป็นครั้งคราว

1. เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

2. มิใช่การมีไว้ในครอบครองเพื่อการใช้ รับจ้าง การจำหน่ายหรือเพื่อประโยชน์ ทางการค้าวัตถุอันตราย

3. มิใช่การนำเข้าเพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับ ขึ้นทะเบียนหรือใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต วัตถุอันตรายที่จะขอขึ้นทะเบียน

4. ปริมาณการนำเข้า ครั้งละไม่เกิน 5 ลิตรหรือ 5 กิโลกรัม

1. สำเนาบัญชีราคาสินค้า

2. เอกสารแสดงรายละเอียดสินค้า/ภาพหรือฉลาก/สูตรส่วนประกอบ (ถ้ามี)

3. หนังสือรับรองของผู้นำเข้าว่ามีวัตถุประสงค์ตามเงื่อนไขที่กำหนดและจะไม่นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์หรือนำไปจำหน่าย

เพื่อแสดงนิทรรศการ


1. สำเนาบัญชีราคาสินค้า

2. เอกสารแสดงรายละเอียดสินค้า/ภาพหรือฉลาก/สูตรส่วนประกอบ (ถ้ามี)

3. หนังสือรับรองของผู้นำเข้าเพื่อการจัดนิทรรศการและจะส่งกลับภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดงานนิทรรศการ และหากสินค้าเกิดการชำรุดเสียหายให้แสดงหลักฐานการชำรุดเสียหาย

4. หนังสือรับรองจากผู้จัดนิทรรศการ

5. หนังสือรับรองจากเจ้าของสถานที่จัดนิทรรศการ

เพื่อการศึกษาของสถาบันการศึกษาหรือเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัย


1. นำเข้ามาเพื่อใช้ในการทดลอง การสาธิตหรือเพื่อการศึกษาของ สถาบันการศึกษา

2. นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยทาง ห้องปฏิบัติการหรือภาคสนาม ที่ มิใช่เป็นการวิจัยด้านการตลาด

3. ป ริมาณนำเข้าต้องไม่เกินที่ กำหนดไว้ในโครงการวิจัย เว้นแต่จะมีเหตุผลความจำเป็นแล้วแต่กรณี

1. สำเนาบัญชีราคาสินค้า

2. เอกสารแสดงรายละเอียดสินค้า/ภาพหรือฉลาก/สูตรส่วนประกอบ (ถ้ามี)

3. หนังสือรับรองของสถาบันการศึกษาว่านำเข้ามาเพื่อใช้ในการทดลอง สาธิตหรือเพื่อการศึกษาของสถาบันการศึกษา

4. สำเนาโครงการวิจัยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปริมาณที่ใช้ในกรณีนำเข้ามาเพื่อการศึกษาวิจัย

เพื่อใช้ในหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานสากลของการใช้วัตถุอันตรายนั้น

นำเข้ามาเพื่อใช้ในกิจการของหน่วยงาน ที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานสากล เช่น สายการบิน

1. สำเนาบัญชีราคาสินค้า

2. เอกสารแสดงรายละเอียดสินค้า/ภาพหรือฉลาก/สูตรส่วนประกอบ (ถ้ามี)

3. หนังสือรับรองจากหน่วยงานที่นำเข้าว่านำเข้ามาเพื่อใช้ในกิจกรรมของหน่วยงานนั้น และมีวัตถุประสงค์ตามเงื่อนไขที่กำหนดและจะไม่นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

4. หลักฐานแสดงว่าวัตถุอันตรายที่นำเข้าได้รับการขึ้นทะเบียนหรือได้รับอนุญาตอื่นใดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในประเทศผู้ผลิต

เพื่อส่งต่อให้กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การของรัฐ สภากาชาดไทย คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองการดำเนินงานของสหประชาชาติและทบวงการชำนัญพิเศษในประเทศไทย


1. สำเนาบัญชีราคาสินค้า

2. เอกสารแสดงรายละเอียดสินค้า/ภาพหรือฉลาก/สูตรส่วนประกอบ (ถ้ามี)

3. หนังสือรับรองจากหน่วยงานที่ให้นำเข้าแสดงรายละเอียดปริมาณการนำเข้าสำหรับใช้ในกิจกรรมของหน่วยงาน ซึ่งลงนามโดยผู้มีอำนาจสูงสุดของหน่วยงานนั้น


อ้างอิง :

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเว้นการนำเข้าไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับการแจ้งดำเนินการ การขออนุญาต และการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2548



ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 0 2590 7000 ต่อ 70801