การนำเข้าอาหารเพื่อจำหน่าย (Imported foods for sale) มีขั้นตอน ดังนี้
ลำดับ | ขั้นตอน |
1. | ยื่นขอใบอนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรกับกองอาหาร ตรวจสอบรายละเอียดและขั้นตอนการยื่นขอได้ที่ https://food.fda.moph.go.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 0 2590 7320 |
2. | ยื่นขอเลขสารบบอาหาร หรือเลขเสมือนสำหรับอาหารทั่วไป ผลิตภัณฑ์ตามประเภทอาหาร > https://food.fda.moph.go.th/public-guide/category/ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 0 2590 7187 หรือช่องทาง Line Official: @food_e-submission ผลิตภัณฑ์อาหารทั่วไป > https://food.fda.moph.go.th/lpi หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 0 2590 7000 ต่อ 97176 หรือติดต่อผ่านทาง E-mail: food_lpi@fda.moph.go.th **กรณีไม่ทราบประเภทอาหาร ศึกษาแนวทางการจัดประเภทอาหารได้ที่ https://food.fda.moph.go.th/public-information/ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 0 2590 7211 |
3. | เมื่อมีการนำเข้าในแต่ละครั้ง ให้ยื่นขอ License per Invoice (LPI) (ศึกษาขั้นตอนการยื่นขอ LPI ได้ที่ ขั้นตอนการใช้งาน License per Invoice) |
4. | ยื่นเอกสารมอบอำนาจดำเนินการพิธีการ ณ ด่านอาหารและยา ได้ที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ อาคาร OSSC ชั้น 4 • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มีอำนาจ (ที่ยังไม่หมดอายุ ณ วันที่ยื่นเอกสาร พร้อมลงชื่อรับรองสำเนา) • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ที่ยังไม่หมดอายุ ณ วันที่ยื่นเอกสาร พร้อมลงชื่อรับรองสำเนา) • หนังสือให้ความยินยอมเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับกระบวนการยื่นคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัติที่อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (ผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้ลงนาม) (ตัวอย่าง) หมายเหตุ สามารถส่งเอกสารมาเปิดสิทธิ์ชั่วคราวก่อนได้ที่ bie.thaifda@gmail.com เจ้าหน้าที่ดำเนินการหลังจากได้รับเรื่องไม่เกิน 2 ชั่วโมง ของวันและเวลาทำการ (เวลาทำการ 08.30-16.30 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ) – หากข้อมูลถูกต้องครบถ้วนเจ้าหน้าที่จะตอบกลับที่อยู่ให้จัดส่งเอกสารตัวจริง – |
5. | จัดทำใบขนสินค้าขาเข้ากับกรมศุลกากร |
6. | ติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ด่านอาหารและยาที่มีการนำเข้าสินค้า เพื่อตรวจสอบสินค้าและเอกสาร ดังนี้ – ใบขนสินค้า/ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ – บัญชีราคาสินค้า (invoice) หรือใบตราส่งสินค้า – ใบรับแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ (LPI) – ตัวอย่างอาหารที่นำเข้าให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ณ ด่านอาหารและยา (การแสดงฉลากอาหารให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง) |
เอกสารอื่น ๆ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ๏ ใบรับรองสถานที่ผลิตตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ๏ กรณีนำเข้าอาหารที่มีความเสี่ยงจากโรควัวบ้า แนบเอกสารหลักฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 377 พ.ศ. 2559 ๏ กรณีนำเข้าอาหารที่มีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี แนบเอกสารหลักฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 371 พ.ศ.2558 ๏ กรณีนำเข้าอาหารที่มีโอกาสใช้น้ำมันและไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ แนบหนังสือรับรองจากผู้ผลิตฉบับจริง หรือ แนบหนังสือจากผู้ผลิตที่รับรองจาก Notary Public หรือ Chamber of Commerce (รับรองกระบวนการผลิตของน้ำมันและไขมัน) หรือรับรองสูตรส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ว่าไม่มีการใช้น้ำมันและไขมันที่ผ่านการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ (ประเด็นถาม-ตอบ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย) ๏ กรณีฉลากอาหารที่นำเข้าไม่ใช่ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ให้จัดทำคำแปลภาษาตามกฎกระทรวง พ.ศ.2540 ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติทางปกครอง | |
มาตราการเฝ้าระวัง – แผนการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพปีงบประมาณ 2567 – มาตราการเฝ้าระวัง ผักผลไม้สดนำเข้า ปีงบประมาณ 2567 | |
หมายเหตุ : อาหารที่นำเข้ามาจำหน่ายต้องไม่เป็นอาหารที่ห้ามนำเข้า ตามที่กฏหมายกำหนด (https://food.fda.moph.go.th/food-law/category/prohibited) | |
ติดต่อกองอาหาร https://food.fda.moph.go.th/contact-food-fda/category/contact-food/ |