อย
กองด่านอาหารและยา

IMPORT AND EXPORT INSPECTION DIVISION
  • เว็บลิงก์
  • ติดต่อเรา
  • ร้องเรียน
  • คำถามที่พบบ่อย
EN
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • โครงสร้างองค์กร
    • วิสัยทัศน์และพันธกิจ
    • ประเด็นยุทธศาสตร์
    • นโยบายคุณภาพกองฯ
  • กฎหมายและแนวทาง
  • คู่มือประชาชน
  • สถิติ
  • ติดต่อเรา
  • สำหรับเจ้าหน้าที่
  • จองห้องประชุม
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • โครงสร้างองค์กร
    • วิสัยทัศน์และพันธกิจ
    • ประเด็นยุทธศาสตร์
    • นโยบายคุณภาพกองฯ
  • กฎหมายและแนวทาง
  • คู่มือประชาชน
  • สถิติ
  • ติดต่อเรา
  • สำหรับเจ้าหน้าที่
  • จองห้องประชุม
  • เว็บลิงก์
  • ติดต่อเรา
  • ร้องเรียน
  • คำถามที่พบบ่อย
ภาษา
EN
image assembly
การเข้าถึง
close assembly
  • ขนาดตัวอักษร
    • ก
    • ก
    • ก
  • การเว้นระยะห่าง
    • icon space 1
    • icon space 2
    • icon space 3
  • ความตัดกันของสี
    • icon color 1สีปกติ
    • icon color 2ขาวดำ
    • icon color 3ดำ-เหลือง
banner

  • หน้าแรก
  • คำถามที่พบบ่อย
  • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 420
  • ทั้งหมด
  • การขอเข้าใช้ระบบสารสนเทศ
  • การยื่น License per Invoice ผ่านระบบ NSW
  • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 420
  • ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
  • ผลิตภัณฑ์อาหาร

คำตอบ Certificate ที่ต้องแสดงให้เจ้าหน้าที่ด่านอาหารและยาตรวจสอบต้องเป็นฉบับจริง แต่ถ้าไม่มีฉบับจริง สามารถใช้ฉบับสำเนาได้ แต่ฉบับสำเนาดังกล่าวต้องผ่านการรับรอง จากหน่วยงานดังต่อไปนี้

1) หน่วยงานที่ออกใบรับรองนั้น หรือ

2) สถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศผู้ผลิตในประเทศไทย หรือ

3) หน่วยงานของรัฐในประเทศผู้ผลิต หรือ

4) บุคคลที่รัฐรับรอง เช่น Notary public/ Chamber of commerce/ Commissioner of Oaths/ Justice of Peace (ขึ้นกับแต่ละประเทศผู้ผลิต)

ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 21/04/2565

คำตอบ มาตรฐานระบบการผลิตอาหารที่เคยใช้ได้กับอาหารตาม ปสธ. 193และฉบับที่ 342 (PrimaryGMP) ที่ถูก ยกเลิก ยังคงใช้ได้ตาม ปสธ. 420 นี้ เนื่องจากเทียบเท่าหรือไม่ต่ำกว่าข้อกำหนดพื้นฐาน (ยกเว้น น้ำแร่ธรรมชาติ และน้ำแข็งบริโภค เนื่องจากต้องเป็นไปตามข้อกำหนดพื้นฐานและข้อกำหนดเฉพาะ) เว้นแต่ปรากฏข้อมูลใน ภายหลังว่ามาตรฐานดังกล่าวไม่เทียบเท่า ปสธ. 420 แล้ว

คำตอบ Certificate ฉบับภาษาอังกฤษสามารถใช้ประกอบการนำเข้าได้ กรณี Certificate ที่ใช้ภาษาอื่น ให้แนบคํา แปลที่เป็นภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษที่ผ่านการรับรองคําแปลจากหน่วยงานหรือบุคคลอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

1) สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศผู้ผลิต

2) สถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศผู้ผลิตที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย

3) บุคคลหรือหน่วยงานที่ดําเนินธุรกิจการแปลเอกสารที่เป็นมาตรฐานสากลพร้อมใบรับรอง

4) คนไทยที่จบการศึกษาในระดับที่ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในหลักสูตรที่ใช้ภาษาที่ปรากฏในเอกสารนั้นเป็นภาษาใน การเรียนการสอน

5) อาจารย์ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาและเป็นผู้สอนภาษาที่ปรากฏในเอกสารนั้นในสถาบันการศึกษา ดังกล่าว

คำตอบ รายละเอียดของ Certificate ควรประกอบด้วย

1) ชื่อและที่ตั้งของสถานที่ผลิตที่ได้รับการรับรอง

2) มาตรฐานระบบการผลิตอาหารที่เทียบเท่าหรือไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดใน ปสธ. 420

3) ขอบข่ายการรับรองครอบคลุมประเภทหรือชนิดของอาหารที่นําเข้า

4) กิจกรรมที่ได้รับการรับรอง เช่น Manufacturing, Processing

5) หน่วยงานผู้ออก Certificate ฃ

6) วันที่รับรองและวันที่สิ้นสุดการรับรอง กรณีไม่ระบุวันที่สิ้นสุดการรับรอง ให้ Certificate ดังกล่าวมีอายุไม่ เกินหนึ่งปี นับจากวันที่ออกเอกสารหรือวันที่มีผลให้การรับรอง

คำตอบ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2563 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร (ปสธ. 420) เป็นการยุบรวมประกาศฯ ด้านสุขลักษณะสถานที่ผลิต (GMP) หลายฉบับ ให้เป็นฉบับเดียว มีผลบังคับใช้กับผู้ผลิตและผู้นำเข้าอาหารเพื่อจำหน่ายโดยสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2564 มี ขอบข่ายครอบคลุมอาหารทุกประเภท ที่ผลิตจากสถานที่ใด ๆ ยกเว้น จากสถานที่ 4 แห่ง เนื่องจากมีกฎหมายอื่น ควบคุมเป็นการเฉพาะแล้ว ได้แก่

1) สถานที่ปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้บริโภคสามารถบริโภคได้ทันที เช่น ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงเรียน โรงพยาบาล ยกเว้น การผลิตอาหารควบคุมเฉพาะ อาหารกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน หรืออาหารที่ ต้องมีฉลาก ที่ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ห้าแรงม้าขึ้นไปหรือใช้คนงานตั้งแต่เจ็ดคนขึ้นไป

2) สถานที่จำหน่ายอาหาร ณ ที่หรือทางสาธารณะ เช่น หาบเร่ แผงลอย

3) สถานที่ผลิตเกลือบริโภค

4) สถานที่คัดและบรรจุผักและผลไม้สดบางชนิด ตาม ปสธ. 386

กรณีการนำเข้าอาหารเพื่อจำหน่าย ผู้นำเข้าต้องจัดให้มีเอกสารรับรองมาตรฐานระบบการผลิตอาหาร (Certificate) ที่เทียบเท่าหรือไม่ต่ำกว่า ปสธ. 420 เพื่อแสดงให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ณ ด่านนำเข้า

คำตอบ หน่วยงานที่สามารถออกCertificate ตามมาตรฐานที่เทียบเท่าหรือไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในบัญชี แนบท้ายประกาศฯ ได้แก่

1) หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบของประเทศผู้ผลิต (Competent Authority) หรือ

2) หน่วยงานอื่นที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบของประเทศผู้ผลิต หรือ

3) หน่วยตรวจสอบและรับรอง (Certification Body; CB) ที่ได้รับการรับรองระบบงานจากหน่วยรับรอง ระบบงาน (Accreditation Body; AB) ที่เป็นสมาชิกและได้รับการยอมรับจากองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการ รับรองระบบงาน (International Accreditation Forum; IAF)

คำตอบ การพิจารณาว่าอาหารนำเข้า “ไม่เข้าข่ายต้องปฏบิ ัตติ าม ปสธ. 420” ให้พิจารณาเงื่อนไข 4 ประการ หาก เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ถือว่าไม่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตาม ปสธ. 420

1) ไม่ใช่อาหาร หรือ

2) ไม่เข้านิยาม “ผลิต”

เช่น การนำเข้าเพื่อจำหน่าย ข้าวเปลือก ผลปาล์มดิบ ผลมะพร้าว (ไม่ปอกเปลือก) หัวมันสำปะหลังดิบ ทะลายต๋าวดิบ การนำเข้าสัตว์น้ำมีชีวิต เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา รวมถึงการนำเข้าสัตว์น้ำทั้งตัวที่ตายแล้ว โดยไม่มี การแปรรูป เช่น ไม่มีการแล่ การตัดแต่ง การควักไส้ เช่น กุ้งสด ปลาสด ปลาหมึกสด เป็นต้น หรือ

3) ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำหน่าย เช่น ผู้ผลิตอาหารในประเทศที่มีใบอนุญาตผลิตอาหาร (อ. 2) นำเข้า อาหารเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานของตนเอง หรือ

4) ไม่มีสถานที่ผลิต หรือสถานที่ผลิตไม่เป็นหลักแหล่ง เช่น การนำเข้าหอมหัวใหญ่ ที่มีการปลูก-เก็บเกี่ยว-คัด-บรรจุในแปลงปลูก ถือว่าไม่มีสถานที่ผลิต การนำเข้าปลาแมคคาเรลแช่แข็ง ที่มีการจับปลา-ตัดแต่ง-แช่แข็งบนเรือ ถือว่ามีสถานที่ผลิตไม่เป็น หลักแหล่ง (เป็นยานพาหนะเคลื่อนที่)

แต่ผู้นำเข้าต้องแสดงหลักฐานหรือหนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐของประเทศผู้ผลิตว่าข้อเท็จจริง เป็นไปตามนั้น

คำตอบ การพิจารณาว่าอาหารนำเข้า “เข้าข่ายต้องปฏบิ ตั ิตาม ปสธ. 420” หรือไม่ ให้พิจารณาว่ามีเงื่อนไขครบทั้ง 4 ประการ ดังต่อไปนี้หรือไม่ หากครบจึงจะเข้าข่ายต้องปฏิบัติตาม ปสธ. 420

1) เป็นอาหาร ซึ่งครอบคลุมอาหารทุกประเภท ได้แก่ อาหารควบคุมเฉพาะ อาหารกำหนดคุณภาพ มาตรฐาน อาหารที่ต้องแสดงฉลาก อาหารทั่วไป และ

2) มีการ “ผลิต” ซึ่ง พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 กำหนดนิยามคำว่าผลิต หมายความว่า ทำ ผสม ปรุงแต่ง และ หมายความรวมถึงแบ่งบรรจุด้วย เช่น การตัดแต่ง คัด-บรรจุ สี กะเทาะเปลือก ตากแห้ง อบ ต้ม แช่เยือกแข็ง พาสเจอร์ไรส์ สเตอริไลส์ ฉายรังสี เป็นต้น และ

3) มีวัตถุประสงค์นำเข้าเพื่อจำหน่าย ทั้งการจำหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไป หรือจำหน่ายให้แก่โรงงาน หรือ สถานประกอบการอื่น ๆ และ

4) มีสถานที่ผลิตเป็นหลักแหล่ง

คำตอบ ผู้นำเข้าน้ำปลาสามารถแสดง Certificate ฉบับที่ใช้ยื่นขอรับเลขสารบบอาหารและเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วว่า ถูกต้องก่อนการอนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ ณ ด่านนำเข้าได้ หาก Certificate ดังกล่าวยังไม่หมดอายุ เนื่องจากมาตรฐานระบบ การผลิตที่เคยใช้ได้กับอาหารตาม ปสธ. 193 ที่ถูกยกเลิก ยังคงใช้ได้ตาม ปสธ. 420 นี้ เนื่องจากเทียบเท่าข้อกำหนดพื้นฐาน (หมายเหตุ : เดิมน้ำปลาต้องปฏิบัติตาม ปสธ. 193)

123
แสดงผล รายการ
อย
กองด่านอาหารและยา

IMPORT AND EXPORT INSPECTION DIVISION

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา : 88/24 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ
อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.

  • Website Policy
  • Privacy Policy
  • Disclaimer

รองรับการทำงานบน Internet Explorer v9+, Firefox v.20+, Safari v.5+, Chrome v.25+, Opera v.10+

Sitemap
หน้าแรก
    เกี่ยวกับเรา
    • โครงสร้างองค์กร
    • วิสัยทัศนและพันธกิจ
    • อำนาจและหน้าที่
    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
      คู่มือประชาชน
        สถิติ
          Q&A
            ติดต่อเรา

              ผู้ชมเว็บไซต์ :

              rss image ipv6 image w3c html image w3c css image
                Copyright 2020 | สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

                Subscribe

                เลือกหัวข้อที่ท่านต้องการ Subscribe

                no-popup